ผมชอบทำการศึกษาพระเครื่อง เครื่องรางต่าง ๆ อีกยังชอบศึกษาพฤติกรรมของคนที่เช่าบูชาพระเครื่องด้วย
ครั้งหนึ่งผมลองนำพระเครื่องมีบัตรรับรองพระแท้จากสมาคมหลักของวงการพระเครื่อง โดยการนำขึ้นโพสต์ขายแบบไม่รู้ที่ ไม่รับประกัน ในราคา 500 บาท ผ่านไปเป็นเดือนก็ไม่มีใครสนใจ ไม่มีถามถึง
ต่อผมจึงลบโพสต์นั้นทิ้งไป แล้วนำขึ้นโพสต์ขายใหม่ ใช้รูปเดิม แต่คราวนี้ผมโชว์บัตรรองพระเครื่องด้วย ในราคา 10,000 บาท เชื่อไหมภายในหนึ่งวันขายได้ตามราคาที่ผมลงไป มันเกิดอะไรขึ้น จากการนั่งคิดวิเคราะห์แบบเล่น ๆ ของผม เป็นไปได้ว่า
- คิดว่าคนขายหลอก
การที่คนขายบอกว่าไม่รู้ที่ คนซื้อก็ไม่เชื่อ คิดว่าคนขายหลอก คิดว่าเป็นเทคนิคของคนขาย “แกส่องพระทุกวัน ขายพระทุกวัน เป็นไปได้หรือว่าพระองค์นี้ไม่รู้ที่ ถ้าบอกว่าไม่รู้ที่นี่แสดงว่าโกหกเราแน่” “รู้ว่าเก๊ละสิจึงนำมาขายแบบไม่รู้ที่” โดยมากคนซื้อจะคิดแบบนี้ - คนซื้อไม่ไว้ใจคนขาย (เหมือนข้อแรกเลยเนาะ)
ไม่เชื่อมั่นในคนขาย ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าคนซื้อผูกขาดกับคนขาย คนทำโปรไฟล์น่าเชื่อถือหน่อย โชว์แต่พระดี ๆ แท้ ๆ ยอดขายสูงขึ้นทุกวัน คนซื้อก็เชื่ออย่างนั้นหรือ หรือเป็นเพราะไม่เคยซื้อขายกันมาก่อนจึงไม่แน่ใจว่าคนขายเป็นคนแบบไหน - คนซื้อไม่มีความรู้พอ
คนซื้อไม่มีความรู้พอ ดูจากภาพแล้วตัดสินไม่ได้ว่าเป็นพระที่ไหน แท้หรือไม่ จึงต้องเลือกคนขายที่น่าไว้ใจ มีบัตรรับรองด้วย - คนซื้อมีคติ คิดแต่ในทางลบ
ข้อนี้ผมได้จากเพื่อนผมคนหนึ่ง แกมีอคติพระที่ได้มาจากอินเตอร์เน็ต พระที่ได้จากไลฟ์สดในกลุ่มพระเครื่องบน facebook แกพูดว่าไม่มีใครหรอกที่จะขายพระดี พระแท้ในราคาถูก นึกถึงความเป็นจริงบ้าง พระหลักหมื่นใครจะมาขายในราคาหลักร้อย จัดฉากกันทั้งนั้น - คนซื้อต้องการนำบัตรรับรองพระไปยืนยันกับคน
หมายความว่า ต้องการนำพระไปขายให้กับคนอื่น แต่ตนเองก็ดูไม่เป็น จึงต้องการมีบัตรรับรองพระเครื่องด้วย “แท้ไม่แท้ไม่รู้ แต่ฉันมีบัตรรับรอง สมาคมหรือวงการพระเครื่องยอมรับว่าแท้แล้ว”