เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
“บิณฑบาต” เป็นอีกคำหนึ่งที่มักเขียนผิดเป็น “บิณฑบาตร” ที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะสับสนกับคำว่า “บาตร” ซึ่งมีตัว ร เรือ สะกด
ความหมายของคำว่า “บิณฑบาต”
- บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว (เป็นการแปลโดยพยัญชนะ)
- หมายถึงการที่ภิกษุสามเณรไปรับอาหารที่เขาถวายโดยบาตรก็ได้ เช่นใช้ว่า “พระออกไปบิณฑบาตในเวลาเช้าในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้วัด” (ในความหมายนี้ คือกิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร ซึ่งเป็นความหมายที่รับรู้กันมากที่สุด)
- ในคำวัดหมายถึงอาหารสำหรับถวายพระซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งใน ๔ สำหรับพระสงฆ์ จะถวายโดยการใส่บาตรหรือใส่ภาชนะอื่นใดก็เรียกเหมือนกัน (“บิณฑบาต” ในความหมายนี้ได้แก่ อาหารสำหรับถวายพระ)
- หมายถึงการที่พระสงฆ์ขอร้องมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ เช่นใช้ว่า “อาตมาขอบิณฑบาตเถอะ อย่าได้ถึงกับฆ่าแกงกันเลย” (ข้อนี้เป็นความหมายโดยปริยาย)
ความหมายของคำว่า “บาตร”
บาตร คือภาชนะซึ่งหนึ่งเป็นในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต (ตามความหมายของคำว่า “บิณฑบาต” ตามข้อที่ 2)
คำว่า “คำไทย” ตามหัวข้อ หมายถึงคำที่นำมาใช้ในภาษาไทย แม้คำเดิมจะมาจากภาษาบาลี – สันสกฤต ก็เรียกว่าคำไทยในความหมายตามหัวข้อนี้
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....