
พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค หลังจากงานพิธีพุทธาภิเษก ๒๕ พุทธศตวรรษ วันที่๑๒ – ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมาก็ไม่มีพิธีพุทธาภิเษกใดทำได้เสมอเหมือน เพราะเหล่าพระคณาจารย์ที่มีอยู่ในยุคนั้นทั้งหมดได้ถึงแก่มรณภาพไปกันหมดแล้ว ทั้งจะแสวงหามวลสารบริสุทธิ์ก็ยากเข้าไปทุกที ดังนั้นคงกล่าวได้ว่า พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นมหาพิธีพุทธาภิเษกแห่งยุคก็คงไม่ผิด
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายละเมียน อัมพวะสิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขาธิการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก ให้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก โดยการนี้ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เริ่มต้นกดพิมพ์พระ เผาพระ และอบพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นมา ครั้งนั้นได้มีการปิดอุโบสถวัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจัดพิมพ์พระเครื่องรุ่นปี ๒๕๑๕
พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ ศาลาพุทธาภิเษกหลังพระอุโบสถ วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก ในพิธีนี้ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เป็นเจ้าพิธีเองได้กำหนดและควบคุมการดำเนินการประกอบ “พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก” ครบถ้วนตามแบบฉบับโบราณพิธีทุกประการตามวิธีการสายพระวิปัสสนาจารย์ โดยมีอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ถวายคำแนะนำ โดยมีการนั่งปรกพุทธาภิเษกสลับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูศีลสารสัมบัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและจุดเทียนชัย
คณาจารย์บริกรรมปลุกเสก ๙ รูปตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนี้
๑. พระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก
๒. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไซ่) วัดจูงนาง (วัดศรีรัตนาราม) พิษณุโลก
๓. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก
๔. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตรธรรมาราม พิษณุโลก
๕. พระครูอภัยจริยาภิรมณ์ วัดใหม่อภัยยาราม พิษณุโลก
๖. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว พิษณุโลก
๗. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา พิษณุโลก
๘. พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก
๙. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก
พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสกประจำทิศ ๘ ทิศ โดยสมมติเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๘ องค์ ตลอดทั้งคืน ดังนี้
๑. พระครูศีลสารสัมบัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง
๒. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนี) วัดอรัญญิก พิษณุโลก
๓. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ พิษณุโลก
๔. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ พิษณุโลก
๕. พระอาจารย์โต วัดสมอแข พิษณุโลก
๖. พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน พิษณุโลก
๗. พระครูวิจารย์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทองวราราม พิษณุโลก
๘. พระครูนิยมสีลาจารย์ (เฮียง) วัดท่ามะปราง พิษณุโลก
หมายเหตุ เจริญพระคาถามหาจักรพรรตราธิราช ๑๐๘ จบ และคาถาพระอรหันต์ ๘ ทิศ ๑๐๘ จบ
รายการพระเครื่องที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๑ มีดังนี้
๑. พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินและผง หลังยันต์แก้วมณีโชติ พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่
๒. พระพิมพ์ พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อดินและเนื้อผง หลังธรรมจักร
๓. พระพิมพ์ พระพุทธชินราชใบมะยม เนื้อดินและผง หลังธรรมจักร
๔. พระพิมพ์ นางพญา (ชินสีห์) เนื้อดินหลังธรรมจักร
๕. พระผงมหาจักรพรรดิ พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) พิมพ์สี่เหลี่ยมใหญ่ หลังยันต์ ผสมเกศา รุ่นจอมพล
๓. พระผงมหาจักรพรรดิ พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) พิมพ์สี่เหลี่ยมเล็ก หลังยันต์ ผสมเกศา รุ่นจอมทัพ
๔. พระผงมหาจักรพรรดิ ครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) พิมพ์จันทร์ลอย หลังยันต์ ผสมเกศา รุ่นพลเอก
ครั้งที่ ๒ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก
พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก ในพิธีนี้พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมการดำเนินการประกอบ “พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก” ครบถ้วนตามแบบฉบับโบราณพิธีทุกประการ
คณะกรรมการพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก
ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นประธานจุดเทียนชัย
ประธานฝ่ายฆราวาส ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย
ประธานฝ่ายสงฆ์ดับเทียนชัย พระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก
ประธานบริกรรมปลุกเสก พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ๑๐๙ รูป ดังนี้
๑. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี
๒. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๓. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพฯ
๔. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
๕. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดชากหมาก (ป่าเรไร ) จ.ระยอง
๖. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
๗. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำสาคร จ.ชัยนาท
๘. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
๙. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
๑๐. หลวงพ่ออยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๑๑. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
๑๒. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
๑๓. หลวงพ่อพริ้ง (พระครูประสาทวรคุณ) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
๑๔. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
๑๕. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
๑๖. พระครูปิยธรรมภูสิต (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
๑๗. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
๑๘. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
๑๙. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
๒๐. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
๒๑. พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๒๒. หลวงพ่อขอม (พระครูอภัยภาดาทร) วัดไผ่โรงวัว (วัดโพธาราม) จ.สุพรรณบุรี
๒๓. หลวงพ่อกี๋ (พระครูกิตตินนทคุณ) วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๒๔. พระอาจารย์สมภพ เตชปุญโญ วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
๒๕. พระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน ญาณเสวี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
๒๖. พระอาจารย์วิริยัง สิรินโท (พระเทพเจติยาจารย์) วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
๒๗. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร)วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
๒๘. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๒๙. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
๓๐. พระวิสุทธิรังษี (หลวงพ่อเปลี่ยน) วัดชัยชุมพลฯ(วัดใต้) จ.กาญจนบุรี
๓๑. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
๓๒. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
๓๓. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม