ศีลข้อที่ ๕ คือการเว้นจากดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หมายถึง ห้ามดื่มน้ำเมาทุกชนิดแม้อย่างไรอื่นก็ตาม ซึ่งเข้าลักษณะของ“มัชชะ” คือน้ำสิ่งอื่นใดอันยังผู้ดื่มให้มึนเมา
คำสมาทานศีลข้อที่ ๕
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจาการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
องค์ประกอบของศีลข้อที่ ๕ หรือองค์ของสุรา ๔
๑. มะทะนียัง สิ่งที่เป็นเหตุให้มึนเมา
๒. ปาตุกัมยะตาจิตตัง จิตคิดจะดื่มหรือเสพ
๓. ตัชโช วายาโม พยายามดื่มหรือเสพตามที่จิตคิดนั้น
๔. ปิตัปปะเสวะนัง ดื่มน้ำเมา หรือเสพสารเสพติดนั้นเข้าไป
ธรรมที่ส่งเสริมศีลข้อที่ ๕
สติ คือ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราเมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ
อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๔
๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. มีความรู้มาก
๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
๗. ไม่ใบ้
๘. ไม่มัวเมา
๙. ไม่ประมาท
๑๐. ไม่หลงใหล
๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
๑๒. ไม่มีความรำคาญ
๑๓. ไม่มีใครริษยา
๑๔. มีความขวนขวายน้อย
๑๕. มีแต่ความสุข
๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
๑๗. พูดแต่คำสัตย์
๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
๒๒. มีความกตัญญู
๒๓. มีกตเวที
๒๔. ไม่ตระหนี่
๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
๒๗. ซื่อตรง
๒๘. ไม่โกรธใคร
๒๙. มีใจละอายแก่บาป
๓๐. รู้จักกลัวบาป
๓๑. มีความเห็นถูกทาง
๓๒. มีปัญญามาก
๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ
ที่มา อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ 5