หากใครได้ศึกษาหนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๓ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดัดแปลงจากเทศนาปฐมสมโพธิ ตอน ปรินิพพาน ของสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม มาใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรนักธรรม และ ธรรมศึกษาชั้นตรี จนถึงทุกวันนี้
ในหนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๓ ดังกล่าวได้ระบุว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานระหว่างแห่งไม้รังทั้งคู่ ก็คือใต้ต้นรังคู่นั่นเอง อันที่จริงแล้วพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานระหว่างต้นสาละคู่ ตามที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร
ข้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย
ข้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาไทย
ต้นสาละ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Shorea robusta เป็นพันธ์ไม้พื้นเมืองของเดีย ต้นไม้ชนิดนี้ไม่มีในประเทศไทย เหตุที่หนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๓ แปลต้นสาละเป็นต้นไม้รัง อาจเพราะว่าต้นไม้รังเป็นต้นไม้ที่คล้ายกับต้นสาละมากที่สุดที่มีในประเทศไทย
ต้นสาละ กับ ต้นรัง เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันไหม
ความแตกต่างระหว่างต้นสาละ และ ต้นรัง
สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละในพุทธประวัติเป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Shorea siamensis Miq.” และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละในพุทธประวัติมีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย
ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี 14-18 คู่ ผลมีเส้นที่ปีก 7-9 เส้น และไม่มีขนปกคลุม ที่มา ความรู้เรื่องต้นสาละ
แนะนำอ่านเพิ่มเติมที่…เข้าใจผิดมานาน ต้นสาละ ในพุทธประวัติ เป็นแบบนี้นี่เอง