หัวใจ สัตตะโพชฌงค์ หรือ หัวใจโพชฌงค์ ๗
สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ
สัตตะโพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 ประการ คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่
1. สะ หมายถึง สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2. ธะ หมายถึง ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3. วิ หมายถึง วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
4. ปิ หมายถึง ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
5. ปะ หมายถึง ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6. สะ หมายถึง สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7. อุ หมายถึง อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
หากปฏิบัติตามย่อมได้รับอานิสงส์ตามสมควรแห่งธรรมนั้น
1. สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา
2. ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
3. วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
4. ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
5. ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ
6. สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
7. อุเบกขาเป็นคู่ปรับกับมานะ
อานิสงส์แห่งการสาธยาย หัวใจ สัตตะโพชฌงค์ หรือ หัวใจโพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ ๗ ประการนั้น พระพุทธองค์ให้นำไปประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่สาธยายหรือทรงจำเฉย ๆ แต่นักสวดคาถาสาธยายหรือนำหัวใจแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไปภาวนา ย่อมหวังอานิสงส์ตามความศรัทธา เป็นต้นว่า
1. ทำให้เป็นผู้มีสติปัญญาดี
2. มีความสงบ
3. มีความเอิ่บอิ่มในธรรม
4. บรรเทาหรือข่มกามราคะไว้
5. มีผิวพรรณดี เนื่องจากใจเป็นอุเบกขา
6. มีสมาธิที่ตั้งมั่น
7. ขจัดหรือบรรเทาโรคภัย