ตะกรุดของหลวงพ่อทบสามารถแบ่งออกเเป็น 3 ยุค หรือ 3 ช่วง ได้แก่
ตะกรุดยุคต้น คือตะกรุดที่สร้างก่อนปี 2500 เป็นตะกรุดที่โดยมากถักจากเชือกปอ เป็นเชือกที่ผลิตจากใยธรรมชาติ หรือปอผสมใยสับปะรด
ตะกรุดยุคกลาง นับหลังปี พ.ศ. 2500 ไปจนมาถึงปี พ.ศ.2509 เป็นเชือกไนล่อน (Nylon) และเชือกไนล่อน (Nylon) แบบเอ็นตกปลา
ตะกรุดยุคปลาย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2510-2519 ยุคปลายนี้ก็ยังใช้เชือกไนล่อน (Nylon) และเชือกไนล่อน (Nylon) แบบเอ็นตกปลา
การพิจารณาตะกรุด หลวงพ่อทบ
- พิจารณาจากชนิดของโลหะ ความเก่าของโลหะว่าถึงยุคไหม เก่าจริงไหม ได้ธรรมชาติของความเก่ามากน้อยแค่ไหน
- พิจารณาจากการเก็บหัวตะกรุดในแต่ละยุค ยุคต้นการเก็บหัวจะยังไม่เรียบร้อย แต่ในยุคกลางและยุคปลายจะมีการเก็บหัวตะกรุดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
- พิจารณาจากการเก็บปลายเชือกในยุคต้น ๆ การเก็บปลายเชือกจะเก็บปลายเชือกไว้ใต้เชือกที่พัน มองดูแทบไม่รู้เลย ในยุคกลางและยุคปลายจะผูกปมเชือกค่อนข้างใหญ่หรือไม่ก็ใช้มัดเอาเลย และยังมีการใช้ไฟจี้เพื่อให้เชือกติดกันอีกด้วย
- พิจารณาจากขนาดของตะกรุดหลวงพ่อทบ ในยุคต้นตะกรุดดอกไม่ใหญ่มากนัก มีทั้งดอกสั้นและดอกยาว ใช้โลหะ 1-2 ชนิด ในยุคกลางตะกรุดจะเริ่มทำตะกรุดให้ใหญ่ขึ้นมีทั้งดอกสั้นดอกยาวและการม้วนโลหะก็จะหนากว่าทุกยุค ตะกรุดยุคปลายดอกจะไม่ใหญ่มากนักแต่จะมีโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
- พิจารณาจากขอบทั้ง 4 ด้านของแผ่นโลหะที่ใข้ทำตะกรุดจะตัดมุนออกทั้ง 4 มุม ส่องดูจะเห็นได้ทั้งด้านในและด้านอก
- พิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบจากการเก็บหัวตะกรุดเป็นมาตรฐาน ของพระเกจิท่านอื่นคล้าย แต่ไม่เหมือน การพับหัวตะกรุดคือการพับจริง พับทุกแผ่น ยิ่งถ้าเป็นเนื้อตะกั่วจะทุบจนกลืนกัน
- พิจารณาจากการพันเชือก คือ การเริ่มหรือการขึ้นหัวถัก การจบหัวตะกรุด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ