เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
ชื่อเป็นอัตลักษณ์หรือเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นตัวของบุคคลนั้น ๆ ในสมัยก่อนการตั้งชื่อก็เพื่อให้สะดวกในการเรียกขาน และชื่อมักจะใช้คำสั้น ๆ ง่าย ๆ เรียกขานกันในกลุ่มหรือคนที่รู้จักกันเท่านั้น ส่วนใหญ่ชื่อมีพยางค์เดียวเรียกง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องแปล ฟังแล้วเข้าใจทันที เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง มั่น คง การตั้งชื่อสมัยโบราณนั้น ง่าย พอที่จะสรุปได้ดังนี้
- ตั้งชื่อด้วยคำสั้น ๆ ง่าย ๆ ฟังแล้วเข้าใจทันที สื่อถึงความเป็นตัวตนหรือถิ่นกำเนิดของคนนั้น ๆ
- ตั้งชื่อตามสิ่งที่มีค่าในยุคนั้น ๆ เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง คำ ข้าว เป็นต้น
- ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เกิดวันพระจันทร์เต็มดวง ก็ตั้งชื่อว่า จัน เพ็ญ หรือจันทร์เพ็ญ วันเพ็ญ เกิดเดือน 3 ก็ตั้งชื่อว่าสาม เป็นต้น
- ตั้งชื่อตามลักษณะของเด็กที่เกิด เช่น ตัวดำ ก็ตั้งชื่อว่าดำ ตัวขาวก็ตั้งชื่อว่า ขาว ตัวเล็กก็จะตั้งชื่อว่า เล็ก, น้อย เป็นต้น
- ตั้งชื่อตามสถานที่เกิด เช่น เกิดในทุ่งนา หรือบนเถียงนา ก็ตั้งชื่อว่า นา เป็นต้น
- ตั้งชื่อตามชื่อของพ่อแม่รวมกัน เช่น พ่อชื่อ ทอง แม่ชื่อคำ ตั้งชื่อลูกว่า ทองคำ
- ถ้าอยู่ใกล้วัด ใกล้พระ ก็ให้พระตั้งชื่อให้ หรือให้ญาติผู้ใหญ่ตั้งชื่อให้
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....