เป็นคาถาที่ครูอาจารย์ทั้งหลายให้ไว้ในสมัยเก่าก่อน เพื่อป้องกันภัยอันตราย มีอานุภาพมากมายตามแต่จะใช้
พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง
อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ
พุทธคุณ และ วิธีใช้พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
สิทธิการิยะ พระอาจารย์เจ้าทั้งปวง แต่งอุปเท่ห์พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้ไว้เป็นทานแก่สมณะชีพราหมณ์กุลบุตรทั้งปวง พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้ท่านเรียกว่าธัมมะราชาจัดเป็นใหญ่กว่าคาถาทั้งปวง ผู้ใดภาวนาไว้ได้อานิสงส์มาก สารพัดกันอันตรายทั้งปวง ทั้งคุณผีและคุณคน
ถ้าเป็นไข้ตาลทราง เสกน้ำมนต์ให้กินหรือใช้พ่นเป่าก็หายสิ้น เสกข้าวให้เด็กอ่อนกิน มีปัญญาหาโรคภัยมิได้ ถ้าเจ็บคอให้เสกปูนหา ถ้าเจ็บตาให้เสกน้ำพ่น ถ้าเป็นตะพื้นให้เสกไพลพ่น เสกยากิน ยาทาแก้โรคทั้งปวง ทำให้ยามีฤทธิ์ขึ้นมา ถ้าเป็นฝีให้เสกปูนสูญ สูญได้สารพัดฝีทั้งปวง
ถ้าก้างติดคอให้เสกน้ำให้กิน เสกน้ำสะเดาะลูกในท้องก็ได้ เสกข้าวเสกน้ำกินทุกวันอยู่คงแก่อาวุธทั้ง ๑๒ ภาษา ถ้าเสกกินอยู่ถึง ๓ ปี อยู่คงทนทั่วทั้งร่างกายจนกระทั่งถึงกระดูกแล ถ้าจะให้อยู่คงสิ้นทั้งเรือน ให้เอาดินสอพองเขียนพระคาถานี้ใส่ในกระดานชะนวนแล้วให้เสก ๑๐๘ ที ลบเอาผงนั้นใส่โอ่งน้ำกินหรือตุ่มข้าวสารก็ใด้ จึงคนเสียให้ทั่วแล้วเสกสำทับอีก ๗ ที หุงกินแล้วคงทั้งเรือนแล
เสกไคลพระเจดีย์อมไว้คงทนยิ่งนัก เสกปูนคาดคอ ๓ แห่งอยู่คงทนยิ่งนัก ถ้าไปป่าหลงทางให้ภาวนาพระคาถานี้จะพบทางแล เสกใบหมากเม่ากินอดข้าวได้ ๓ วัน เสกยอดขี้เหล็กกิน ๗ ยอด อยู่คงแก่อาวุธ ถ้าศัตรูไล่มาให้เสกกิ่งไม้ขวางทางไว้ หรือจะเสกทรายโปรยก็ได้ ศัตรูตามมาเห็นเป็นขวากหนามกั้นไว้ตามมิทันถ้าเป็นการจวนตัวให้เสกน้ำลายทาเท้า ทาตัว แล้ววิ่งไปเถิดจะมีกองไฟรั้วตรางขวางหน้าอยู่ก็ดีก็มิได้เป็นอันตราย ถึงจะมีช่องอยู่สักเท่าหัวแม่มือก็หลุดรอดไปได้
ถ้าจะทำให้ตัวใหญ่โตขึ้นมีอำนาจเดชะ เป็นที่เกรงขามแก่คนทั้งหลาย ให้เอาคาถานี้เขียนลงกระดานขนวน เสกแล้วจึงลบเอาผงทาตัว ภาวนาอึดใจเดินไปศัตรูเห็นตัวเราใหญ่โตนัก บังเกิดใจครันคร้าม มิอาจที่จะทำร้ายเราได้เลย ถ้าจะให้ตัวเล็กลงให้ยืนภาวนาคาถานี้อยู่เรื่อย เมื่อศัตรูมันแลเห็นให้หมอบลงภาวนา มันมามิเห็นตัวเราเลย ถ้าเป็นความกันถึงขึ้นโรงขึ้นศาล ให้เสกน้ำอาบหรือล้างหน้าเสกแป้งหอมน้ำมันหอมทาตัว เมื่อเวลาไปก็ให้บริกรรมคาถานี้อยู่เรื่อย ๆ เมื่อถึงประตูศาล ให้เอาเท้ากระทืบดินเสียก่อน ๓ ที่ จึงเข้าไปให้นั่งเหนือลมกาวนาคาถานี้ไว้ อย่าย่อท้อเลย
ถ้าศัตรูมันไล่เรามาจวนตัวแล้ว ให้ฉวยต้นไม้หรือต้นหญ้ายึดไว้ให้แน่น รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ภาวนาคาถานี้ไว้อย่าให้ขาดปากเลย ศัตรูมันตามเรามาถึงตรงนั้นมิอาจจะเห็นตัวเราเลย มันได้แค่เวียนวนหาเราอยู่เปล่า
ถ้าจะเข้าหาท้าวพระยาและผู้ใหญ่เจ้านายให้เสกเครื่องแต่งตัว เสกแป้งหอมน้ำมันหอมทาตัว เห็นหน้าเราบังเกิดความเมตตาปรานียิ่งนัก
ถ้าไฟไหม้มารอบเรือนเราให้เสกน้ำก็ได้เสกข้าวสารก็ได้โปรยปรายไปรอบหลังคาเรือน ไฟมิอาจจะไหม้เรือนเราแล
แมันเดินทางไปในที่เปลี่ยวให้ภาวนา พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้ไว้หาอันตรายมิได้ ถ้าหากข้าศึกมันล้อมเราไว้ก็ดีให้ภาวนาพระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้แล้วแหกออกมาได้แล ข้าศึกเผอิญให้ตกตลึงไปหมด
ถ้าจะมิให้ขโมยที่มันขโมยของเราหนีรอดไปได้ เอาพระคาถาพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์นี้ลงไม้กาหลงหรือใบไม้ทั้งปวงก็ได้ เสกแล้วให้ขุดหลุมฝังตรงที่มันเอาของไป ขโมยนั้นไปมิได้เลย วนเวียนอยู่ในที่นั้นเอง ถ้าจะให้มันเจ็บที่ฝาเท้าให้เสกหนามหรือไม้แหลม ๆ แทงลงที่รอยเท้าผู้ร้ายจะเป็นที่สันหรือที่กลางใจเท้าหรือปลายเท้ามันไปมิได้ ให้เจ็บปวดเท้าเหมือนถูกขวากหนามแล
ถ้าจะต่อสู้ด้วยข้าศึกให้ภาวนาสูบลมเข้าทางปากทางจมูก แล้วกลืนเข้าไปในท้องเรา ประเจียดเครื่องรางมนต์คาถาของเขามาอยู่ในตัวเราสิ้น มันทำอันตรายแก่เรามิได้เลย
อานุภาพแห่งพระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้แม้ถึงถูกจองจำไว้ในกรงเหล็กให้อุตสาห์บริกรรมเถิด สามารถหลุดออกมาได้ผู้ใดพบให้เล่าเรียนเอาไว้เถิด สำหรับลูกผู้ชายควรมีคาถานี้ไว้ประจำกาย
พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์นี้เป็นพระคาถาของอาจารย์แสงเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ซึ่งพระอาจารย์แสงองค์นี้ มีประวัติเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านไว้มาก ปรากฏในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคราวเสด็จประพาสมณฑลอยุธยาเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ความตอนหนึ่งว่า “..ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดินตั้งแต่เมืองลพบุรีเช้า ลงไปฉันเพลที่กรุงเทพ ฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนนางรู้จักกันหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่ง ที่วัดมณีชลขันธ์ ตัวไม่ได้อยู่วัดนี้หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่นถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้ ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วยราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรียไรอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้ เจ้าของจะทำแล้วเสร็จแล้วตลอดไปหรือจะทิ้งให้ผู้อื่นช่วย เมื่อตายแล้วไม่ได้ตามดูของเธอก็สูงดีอยู่…” ซึ่งตำราต้นฉบับของท่านอาจารย์แสง ตังกล่าวนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมรักษาไว้เป็น
อย่างดี ฯ
จากหนังสือคาถาโบราณ โดยพระครูสิริจันทนิวิฐ (บุญจันทร์ เขมกาโม น.ธ.เอก,ป.ธ.๕, พธ.บ.,M.P.A.)เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ กรุงเทพ ฯ