พระรอด และ พระคง เป็นพระสกุลลำพูนเหมือน สร้างในยุคเดียวกัน โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ฉะนั้น ขออนุญาตใช้คำพูดสอดคล้องกันว่า พระรอดพระคงดงเดียวกัน หมายถึงมาจากที่เดียวกันคือเมืองหริภุญชัยหรือลำพูนในปัจจุบัน
บทความพระรอด และบทความพระคง ผมเขียนมาแล้วหลายครั้ง จนไม่รู้จะเขียนอะไรแล้ว ฉะนั้น บทความนี้ยกความแตกต่างหรือความเหมือนระหว่างพระรอดและพระคง พอเป็นเครื่องศึกษาโดยคราว ๆ
เปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างพระรอดกับพระคง
เปรียบเทียบ | พระรอด | พระคง |
---|---|---|
จังหวัดที่พบ | ลำพูน (หริภุญชัย) | ลำพูน (หริภุญชัย) |
วัดที่พบ (ส่วนใหญ่) | วัดมหาวัน | วัดพระคงฤๅษี |
ขนาด | เล็ก | ใหญ่กว่าพระรอด |
เนื้อมวลสาร | ดินเผา | ดินเผา |
ปาง | ปางมารวิชัย | ปางมารวิชัย |
ฐาน | ฐานเขียง เป็นชั้น ๆ | ฐานบัวเม็ดสองชั้น ข้างล่างฐานเขียง |
พื้นหลัง | ต้นโพธิ์หรือโพธิ์หลายใบ | ต้นโพธิ์หรือโพธิ์หลายใบ |
ด้านหลัง | ลายนิ้วมือ | ลายนิ้วมือ |
สร้างในยุค | พระนางจามเทวี พศว.ที่ 12-13 | พระนางจามเทวี พศว.ที่ 12-13 |
อายุ | ประมาณ 1200-1300 ปี | ประมาณ 1200-1300 ปี |
สร้างโดย | ฤๅษี | ฤๅษี |
นี่เป็นการเปรียบเทียบระหว่างพระรอดกับพระคงอย่างคร่าว ๆ เท่านั้น ซึ่งแทบจะเหมือนกันทุกอย่าง ต่างแต่ขนาด และพระรอดไม่มีบัวสองชั้นเท่านั้น
บทความแนะนำ
คาถาบูชาพระรอด ประจำบทนี้
ระโต นิพพานะสัมปัตเต | ระโต โย สัตตะโมจะเน |
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย | ระณะจัตตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีแล้วในพระนิพพานสมบัติ พระองค์ใด ทรงยินดีแล้วในอันปลดเปลื้องสัตว์ (จากทุกข์) พระองค์ใด ทรงยังสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ให้ยินดี (ในการเปลื้องทุกข์นั้นด้วย) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้สละข้าศึก (คือกิเลส) เสียได้
คาถาบูชาพระคง ประจำบทนี้
คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา | คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง |
คะโต โส สัตตะโมเจตุง | คะตัญญาณัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จไปเสียจากโลกียธรรม ถึงโลกุตรธรรมอันเป็นอมตบท พระองค์เสด็จไปไหน ๆ ก็เพื่อทรงปลดเปลื้องสัตว์จากทุกข์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว