
สำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง เป็นเหมือนดังตักสิลาที่คนทั้งหลายทุกระดับชั้นมักจะส่งลูกหลานของตนไปศึกษาเรียนวิชาการต่าง ๆ
วัดเขาอ้อ ผลิตอาจารยผู้ทรงวิทยาคุณมากมายหลายท่าน ซึ่งท่านเหล่านั้นเมื่อสำเร็จวิชาวิทยาคมต่าง ๆ แล้วก็อยู่ในดูแลสำนักเขาอ้อต่อไปบ้าง ออกมาสร้างสำนักเองต่างหากบ้าง แต่ก็ไม่ลืมความที่ตนเองเป็นศิษย์เขาอ้อ
พระอาจารย์เหล่านั้นนอกจากออกมาเผยแผ่ธรรมแล้วยังต้องอยู่เป็นกำลังใจให้ชาวบ้านในยามที่เกิดศึกสงคราม มอบขวัญกำลังใจให้ชาวบ้านโดยผ่านทางวัตถุมงคลโดยเฉพาะพระปิดตาที่มีพุทธคุณเด่นในด้านมหาอุด (มหาอุด ภาษาพูดเป็นภาษาบาลีบวกภาษาไทย ประมาณว่ายิงไม่ออก ยิ่งไม่เข้า โดยความแล้วคือแคล้วคลาดนั่นเอง)

รายนามพระอาจารย์สายเขาอ้อที่สร้างพระปิดตา
1. พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา (ศิษยพี่ของพระอาจารย์ปาน)
2. พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ (เจ้าอาวาสต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า)
3. พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดปากสระ
4. พระอาจารย์เซ็น วัดท่ามิหรำ
5. พระอาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก
6. พระอาจารย์เจ๊ก วัดเขาแดงตะวันตก
7. พระอาจารย์เหลื่อม วัดนาท่อม
8. พระอาจารย์แต้ม วัดท่าสำเภาเหนือ
9. พระอาจารย์ชู วัดเต่า
10. พระอาจารย์ชัย วัดควนปริง
11. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
12. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา
13. พระครูการชาด บุญทอง
พระอาจารย์สายเขาอ้อทั้งหมดที่กล่าวมานี้ โดยมากท่านสร้างพระปิดตาในยุคปี 2485 ยกเว้น พระอาจารย์นำ และ พระอาจารย์ศรีเงิน ที่สร้างในภายหลัง
พุทธคุณพระปิดตาเขาอ้อ
พุทธคุณพระปิดตาเขาอ้อนั้น โดยมากมีความโดดเด่นในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย ทั้งคงกระพันชาตรี ยิงไม่ออก ยิ่งไม่ถูก ฟันแทงไม่เข้า เล่ากันมาอย่างนั้นครับ
เกี่ยวกับพระปิดตา พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
- หลวงพ่อเอียดท่านเป็นศิษย์เอกพระอาจารย์ทองเฒ่าซึ่งมีพรรษามากกว่าพระอาจารย์ปาน แต่ท่านไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ท่านออกมาอยู่วัดดอนศาลา
- พระอาจารย์เอียดท่านสร้างปิดตามหายันต์พร้อมพระมหาว่านเมื่อปี พ.ศ.2485
- หากสะสมพระปิดตาของท่านควรเลือกเนื้อตะกั่ว ส่วนเนื้อทองแดงต้องศึกษาให้มาก
- พระปิดตาของหลวงพ่อเอียด ท่านสร้างด้วยวิธีการหล่อแบบเบ้าประกบ ด้านหน้าเป็นพิมพ์มหาอุด สร้างด้วยแผ่นจารเนื้อตะกั่วที่ท่านจาร
- เหตุที่สร้างเพราะต้องการแจกทหารตามคำแนะนำของท่านขุนพันธ์
เกี่ยวกับพระปิดตา พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
- พระอาจารย์ปานมีพรรษาน้อยกว่าพระอาจารย์เอียด แต่ท่านอยู่วัดเขาอ้อ และเป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า
- พระอาจารย์ปานเริ่มสร้างพระปิดตาในปี พ.ศ.2485
- พระปิดตาพระอาจารย์ปานเป็นพิมตะพาบน้ำซึ่งถอดพิมพ์มาจากพระปิดตาวัดสะพานสูง กทม. มีทั้งมหาลาภ และ มหาอุด
- สร้างด้วยโลหะทองผสออกเหลือ และ ออกแดง
- พระปิดตาหลวงพ่อปานมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เล็ก กลาง ใหญ่ จนถึงขนาดใหญ่มาก
- หลวงพ่อปานท่านสร้างพระปิดตาโดยการเทเบ้าหยอดแบบขนมครก โดยทำการแกะพิมพ์พระจากกระดอกหมึกแล้วจึงเทหยอดโลหะลงไป
เกี่ยวกับพระปิดตา พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดปากสระ
- พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดปากสระ ท่านไม่ได้เป็นศิษย์เขาอ้อโดยตรง ท่านเป็นพระสายพระอาจารย์รอด วัดควนกรวด
- ท่านสร้างพระปิดตาครั้งแรกใน ปี 2485
- พระของท่าน กล่าวกันว่ามีราคาแพงมากที่สุดในจัดหวัดพัทลุง คือพระสังกัจจายย์ พิมพ์ใหญ่
- ท่านสร้างพระปิดตาหลายพิมพ์ เป็นต้นว่า
1.พระปิดตาหลังยันต์นอน
2.พระปิดตามือไขว้
3.พระปิดตาโยงก้น(มีทั้งแบบพิมพ์และปั้นด้วยมือ)
4.พระปิดตา มหาลาภมือตรง (มีทั้งแบบท้องแฟบ และหลังคู้) ช่างเดียวกันกับพระปิดตามือไขว้
5.พระปิดตาอกกว้าง(มีหลังยันต์จม และ มหาอุด)
6.พระปิดตาหลังยันต์ นะล้อม
7.พระปิดตาพิมพ์ปั้นทั่วไป
8.นอกจากนั้นยังมีพิมพ์ย่อยอีก - พระทั้งหมดสร้างในวัด
เกี่ยวกับพระปิดตา พระอาจารย์เจ๊ก วัดเขาแดงตะวันตก
พระอาจารย์เจ๊ก ท่านสร้างพระปิดตาและพระอื่น ๆ ในปี 2485 มีพิมพ์ต่าง ๆ ดังนี้
1.พิมพ์สังกัจจายย์
2.พิมพ์ฤๅษี (เขียนว่า ฤๅษี ไม่ใช่ ฤาษี สังเกต สระอา ยาว) มีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก ท่านหล่อเป็นองค์ครูในพิธี ในพิธีการสร้างพระปิดตาท่านหรือพระเครื่องอื่น ๆ ท่านจะต้องหล่อพิมพ์ฤๅษีเป็นปฐมฤกษ์ทุกครั้ง เพื่อเป็นการบูชาครู
3.ปิดตาสอดเข่า แต่ผู้รู้ได้จากการค้นคว้าข้อมูล มีความเห็นว่าท่านน่าจะทำเป็นกุมารดูดรก
4.พระปิดพิมพ์ฐานเขียง เป็นพระปิดตาที่พบมากที่สุด
5.แหวนหล่อ ซึ่งเป็นโลหะชนิดเดียวกับหล่อพระ
6.พระพิมพ์ใบพาย มีจำนวนหลายพิมพ์มาก แต่ละพิมพ์มีจำนวนการสร้างน้อย จึงได้รับความนิยมเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก palungjit.org โพสต์โดย เขาอ้อ พัทลุง