
ประวัติความเป็นมาของบอนสี
บอนสีเป็นไม้ประดับที่มีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ แพร่หลาย เข้าไปทางยุโรป อินเดีย ตลอดจนประเทศอินโดนีเซีย ในอดีตพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว คือ พระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองอนุราชปุระ ที่เกาะลังกา นํามาปลูกไว้ยังพระอารามหลวง
ต่อมา สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศ ได้มีการบันทึกไว้ว่า “พระราชอุทยาน ของพระเจ้าอยู่หัว ที่เมืองลพบุรี ได้มีพืชต่างถิ่นปลูกประดับไว้ พืชต่างถิ่นเหล่านั้น ชาวต่างประเทศเป็นผู้นําทูลเกล้าฯ ถวายจากเมืองชวา เมืองจีน แหลมมาลายู และ อินเดียตอนใต้” ในจํานวนพืชต่าง ๆ เหล่านั้น เชื่อว่ามีบอนสีหรือบอนฝรั่งถูกนำเข้ามาสู่เมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ตามตํานานไม้ต่างประเทศบางชนิดในเมืองไทยซึ่ง พระยาวินิจอนันกร (โต โกเมศ) ได้เล่าถึงบอนสีหรือบอนฝรั่งว่า “บอนสีจะเข้ามาเมืองไทยเมื่อ ใดไม่ทราบแน่ ว่ากันว่าราวปี พ.ศ.2425 ฝรั่งสั่งบอนจากยุโรป คือ ชนิดที่ เรียกกันว่า กระนกกระทาและถมยาประแป้ง ทั้งสองชนิดนี้เป็นพันธุ์ของบอนสี ราว พ.ศ.2449-2450 ฝรั่งชื่อ มะโรมิ เลนซ์ สั่งบอนสีต่าง ๆ เข้ามาขายจาก ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเป็นจํานวนมาก”
พันธุ์ไม้มากมายหลากหลายชนิดถูกเข้ามาสู่เมืองไทยมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จพระราชดําเนินประพาสยุโรป และเมื่อพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ได้ทรงนําพันธุ์ไม้จากยุโรปเข้ามาประเทศไทย บอนสีที่มีในคราวนั้น ทรงตั้งชื่อเป็นที่ระลึกว่า “เจ้ากรุงเดนมาร์ก” “เจ้าไกเซอร์” “เจ้าอัมเปอร์” (เอมเปอ) เพี้ยนจากชื่อจริง เอมเปอเรอ
สรุปประวัติบอนสีในประเทศไทย
- พ.ศ. 2425 : พระยาวินิจอนันกร ฝรั่งสั่งบอนสีเข้ามาปลูกในไทย
- พ.ศ. 2449-2459 : ชาวต่างชาติชื่อมะโรมิ เลนซ์ ได้สั่งนำเข้าบอนสีมาขาย และขยายพันธุ์
- พ.ศ. 2450 : รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป ทรงนำ “เจ้ากรุงไกเซอร์” และ “เจ้ากรุงเดนมาร์ก” เข้ามาปลูก สร้างความนิยมให้แก่ฝ่ายใน
- พ.ศ. 2472 : เจ้านายฝ่ายในนิยมเลี้ยง และขยายบอนสีออกสู่วัดวาอารามต่าง ๆ ที่เจ้านายนำไปถวาย บอนตระกูลไก่ เป็นที่นิยมในยุคนี้
- พ.ศ. 2475 : ราคาบอนสีเริ่มขยับ โดยบอนสีชื่อว่า “นกยิบ” ซื้อขายกันในราคา 10 ชั่ง ถือได้ว่าเป็นบอนไม้ประดับที่มีราคาสูง
- พ.ศ. 2497: นายชลอ ทองสุพรรณ ริเริ่มประกวดบอนสีที่สมาคมพฤกษชาติ
- พ.ศ. 2501 : ประกวดบอนสีที่ทีวีช่อง 4
- พ.ศ. 2525 : ก่อตั้งสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย โดยมีสนามหลวงเป็นตลาดบอนสีที่ใหญ่ที่สุด
ที่มา :
เอกสารสถานการณ์ความเป็นมา การผลิต การตลอดบอนสี จาก https://eto.ku.ac.th
140 ปี ตำนาน “บอนสี” ราชินีไม้ใบ ไม้ด่างผู้มาก่อนกาล จาก https://www.thairath.co.th