ขึ้นหัวข้อไว้แล้ว พอจะเขียนงง ไม่รู้จะเริ่มเขียนอย่างไร ไม่แคล้วจะต้องคัดลอกข้อมูลของท่านอื่นมาให้อ่าน มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะผมไม่สามารถกำหนดเองได้
โยชน์ เป็นหน่วยวัดระยะทาง ความยาว ความกว้าง ความสูง ความลึก ของคนสมัยก่อน มีทั้งหน่วยวัดโยชน์ไทยและหน่วยวัดโยชน์อินเดีย
โยชน์ไทย
โยชน์ (ไทย) เป็นหน่วยวัดความยาวของไทยสมัยก่อน มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตรโดย พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ดังนั้นความยาว 1 โยชน์จึงมีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร
4 คาวุต
8 โกรศ
400 เส้น
16,000 ทัณฑะ
32,000 ศอก
64,000 คืบ
640,000 นิ้ว (องคุลี)
2,560,000 กระเบียด
5,120,000 หุน (อนุกระเบียด)
16,000 เมตร
16 กิโลเมตร
ที่มา : โยชน์
เพจ India Indy series movie ได้เทียบมาตราวัดระยะโยชน์ไทยให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้
1 คืบ = 25 เซนติเมตร
2 คืบ = 1 ศอก หรือ 50 เซนติเมตร
4 ศอก = 1 วา หรือ 200 เซนติเมตร หรือ 2 เมตร
20 วา = 1 เส้น หรือ 40 เมตร
400 เส้น = 1 โยชน์ หรือ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร
โยชน์ อินเดีย
เพจ India Indy series movie ยังได้เทียบมาตราวัดระยะโยชน์แบบอินเดีย ดังนี้
โยชน์แบบของอินเดีย (โบราณ) ในวิษณุปุราณะ ในวายุปุราณะและมนุสมฤติ (ด้วยการคำนวณเองแบบไม่ปัดเศษ โดยเริ่มที่อังคุละ) นั้นก็กล่าวว่า
แบบแรก
1 อังคุละ (अंगुल) จะยาวประมาณ 1.6 ถึง 2.1 เซนติเมตร
4 อังคุละ = 1 ธนุครหะ (धनु ग्रह) ซึ่งจะยาวประมาณ 6.4 ถึง 8.4 เซนติเมตร
8 อังคุละ = 1 ธนุมุษฺฏิ (धनु मुष्टि) ซึ่งจะยาวประมาณ 12.8 ถึง 16.8 เซนติเมตร
12 อังคุละ = 1 วิตัสติ (वितस्ति) ซึ่งจะยาวประมาณ 19.2 ถึง 25.2 เซนติเมตร
2 วิตัสติ = 1 อรัตนิ (अरत्नि) ซึ่งจะยาวประมาณ 38.4 ถึง 50.4 เซนติเมตร (อรตฺนิ แปลว่า จากข้อศอกถึงปลายนิ้วก้อย หรือจะเรียกแบบไทยง่าย ๆ ว่า “ศอก” ก็ได้)
4 อรัตนิ (ศอก) = 1 ทัณฑ์ (दण्ड) ซึ่งจะยาวประมาณ 153.6 ถึง 201.6 เซนติเมตร หรือ 1.536 ถึง 2.016 เมตร
2 ทัณฑ์ = 1 ธนุ (धनु) ซึ่งจะยาวประมาณ 3.072 ถึง 4.032 เมตร
5 ธนุ = 1 รัชชุ (रज्जु) ซึ่งจะยาวประมาณ 15.36 ถึง 20.16 เมตร
2 รัชชุ = 1 ปริเทศ (परिदेश) ซึ่งจะยาวประมาณ 30.72 ถึง 40.32 เมตร
100 ปริเทศ = 1 โกรศ (क्रोश) ซึ่งจะยาวประมาณ 3,072 ถึง 4,032 เมตร หรือ 3.072 ถึง 4.032 กิโลเมตร
4 โกรศ = 1 โยชน์ (योजन) ซึ่งจะยาวประมาณ 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร
แบบที่สอง
1 อังคุละ (अंगुल) จะยาวประมาณ 1.6 ถึง 2.1 เซนติเมตร
6 อังคุละ = 1 ปทะ (पद) ซึ่งจะยาวประมาณ 9.6 ถึง 12.6 เซนติเมตร
2 ปทะ = 1 วิตัสติ (वितस्ति) ซึ่งจะยาวประมาณ 19.2 ถึง 25.2 เซนติเมตร
2 วิตัสติ = 1 หัสตะ (हस्त) ซึ่งจะยาวประมาณ 38.4 ถึง 50.4 เซนติเมตร
4 หัสตะ = 1 ธนุษ (धनुष्) ซึ่งจะยาวประมาณ 153.6 ถึง 201.6 เซนติเมตร หรือ 1.536 ถึง 2.016 เมตร
2,000 ธนุษ = 1 คาวยูติ (गाव्यूति) ซึ่งจะยาวประมาณ 3,072 ถึง 4,032 เมตร หรือ 3.072 ถึง 4.032 กิโลเมตร
4 คาวยูติ = 1 โยชน์ (योजन) ซึ่งจะยาวประมาณ 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร
ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่า 1 โยชน์ตามแบบอินเดียโบราณนั้น 1 โยชน์ก็จะยาวประมาณ 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร
ซึ่งก็จะใกล้เคียงกับ 1 โยชน์ของไทยที่ว่า 1 โยชน์= 16 กิโลเมตร (ในปัจจุบัน) ที่เอาระยะที่ยาวที่สุดและทำการปัดเศษส่วนไปแล้วนั่นเอง
ผม แอดมินเว็บไซต์พระคุ้มครอง ดูเทียบตราวัดอินเดียแล้วก็งง ๆ เพราะขาดการศึกษาอย่างละเอียด เป็นอันว่าผมเชื่อเพจ India Indy series movie ที่เทียบให้เห็นว่า 1 โยชน์อินเดียประมาณ 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร
ความคิดเห็นส่วนตัวผม 1 โยชน์ไทยก็อาจจะประมาณ 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร ก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะจุดเปลี่ยนที่ทำให้ขยายถึง 16 กิโลเมตร เพราะไปกำหนดว่า 1 วา เท่ากับ 2 เมตร ซึ่งผมเชื่อว่า 1 วาแบบไทย ๆ ก่อนที่จะมีมาตราวัดระยะแบบเมตริกมาเทียบ 1 วาไทยอาจจะไม่ถึง 2 เมตรก็เป็นไปได้ แต่เมื่อขยาย 1 วาเท่ากับ 2 เมตร
20 วา (1 เส้น) เท่ากับ 40 เมตร,
25 เส้น เท่ากับ 1 กิโลเมตร
400 เส้น เท่ากับ 16 กิโลเมตร
400 เส้นนี้แหล่ะที่เขาว่า เท่ากับ 1 โยชน์
1 โยชน์จึงตกไปที่ 16 กิโลเมตร
ลองคิดเล่น ๆ ถ้าเทียบ 1 วาไทย เท่ากับ 1.5 เมตร ผมเดาว่า 1 โยชน์ น่าจะต่ำกว่า 16 กิโลเมตรก็ได้ ก็จะเข้ากับอยู่ในระหว่าง 12.288 ถึง 16.128 กิโลเมตร ฝากนักคำนวนไว้ด้วยครับ หรือผมงงเอง
สรุปแล้ว ตอนนี้ 1 โยชน์ไทย เทียบเท่า16 กิโลเมตร เป็นการเทียบโยชน์แบบไทย ๆ แต่คุณจะเอา 16 กิโลเมตรนี้ไปเทียบระยะทาง 1 โยชน์ในสมัยพุทธกาลให้ตรงเปะไม่ได้หรอกครับ น่าจะคลาดเคลื่อนกันเป็นกิโลเมตรหรือหลายกิโลเมตร
จากโยชน์อินเดียสมัยโบราณมาเป็นโยชน์ไทยก็คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันได้ และยังมาแปลงโยชน์ไทยเป็นระบบเมตริกอีก ก็ต้องปรับให้มันเข้ากันได้ง่าย เริ่มจากคืบกำหนดไปที่ 25 เซนติเมตร สรุปคือชื่อเหมือนกันแต่ระยะห่างอาจจะต่างกันบ้าง
หรือยกตัวอย่างอีก 1 บาทไทยตอนนี้เท่ากับ 0.030 ดอลลาร์สหรัฐ แต่คุณจะบอกว่า 0.030 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 1 บาทในสมัยพุทธกาลไม่ได้ (เกี่ยวกับไหมนี่ เพราะเงินมันขึ้นลงได้ ไม่เหมือนระยะทาง แต่ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ชื่อเหมือนกันจะบอกว่าเหมือนกันเท่ากันไม่ได้)