แต่ละชนชาติ เรียกผู้ให้กำเนิดว่าอย่างไร ?
– คนไทย เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “แม่”
– ภาษาลาว เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อีแม”
– ภาษาอังกฤษ เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มาเธอร์ (Mother)” หรือ “มัม (Mom)”
– ภาษาสันสกฤต เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาตฺฤ, มารดา”
– ภาษาเยอรมัน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มุสเธอร์ (Mutter) หรือ มาม้า (Mama)”
– ภาษาบาลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาตา”
– คนจีน เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ม่าม้า” (แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า “มาหมะ”
– คนแขก เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามี้”
– คนฝรั่งเศส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามอง (Maman)”
– คนสเปนและอิตาลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาเดร (Madre)”
– คนแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน) เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มัวร์ (Mor, Moder)”
– คนญี่ปุ่น เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โอก้าซัง”
– คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ออมม่า”
– คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แม๊” ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก
– คนโปรตุเกส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แมะ (Mae)”
– คนเขมร เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “กุนแม”
– ภาษามาเลย์ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาม่า”
– ภาษาอาหรับ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “อุมมี”
– ชนเผ่าปกากะญอ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โม่”
– ชนเผ่าอาข่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อะมา”
– ภาษาฮินดี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาม” (Maam)
– ภาษาบังกลา เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ม่า” (Ma)
– ภาษารัสเซีย เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาม่า” (Mama)
– ภาษาปัญจาบ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ม่า” (Ma)
เป็นที่แปลกว่า แต่ละชนชาติใช้ริมฝีปากเป็นฐานในการออกเสียงเรียกผู้ให้กำเนิดของตน คือตัว ม ออกเสียงว่า แม แม่ ม่า มาม มาม่า มามี้ อยู่แถวนี้ครับ อาจจะเป็นเพราะว่าริมฝีปากเป็นฐานที่ใช้ออกเสียงได้ง่ายที่สุดของเด็กที่กำลังหัดพูด