พระสังกัจจายน์ บาลีใช้คำว่า มหากัจจายนะ แต่ในประเทศไทยเรียก พระมหากัจจายนะบ้าง พระมหาสังกัจจายนะบ้าง พระสังกัจจายน์บ้าง ท่านเป็นหนึ่งในพระอสีติมหาสาวก คือพระเถระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ที่ได้รับการยกย่องจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะคือเลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร แต่พุทธศาสนิกชนต่อมาเมื่อบูชาแล้วมักได้รับอานิสงส์ในด้านโชคลาภ วาสนา
พระสังกัจจายน์ เมื่อทำออกมาเป็นรูปปั้นแล้วนิยมทำเป็นลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย ซึ่งมีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ ลักษณะเด่นของพระสังกัจจายน์ คือโดดเด่นมองเห็นแต่ไกลก็รู้ว่านี่คือพระสังกัจจายน์ คติในการสร้างพระสังกัจจายน์เพื่อบูชาเสริมโชคลาภนั้นนิยมสร้างกันมาก ทั้งพระสังกัจจายน์แบบจีน มหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีนนั้นเป็นที่นิยมสร้างอยู่ไม่น้อย โดยมีความเชื่อที่ว่า “หากผู้ใดได้บูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคล อุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรือง”
ทำไมเราต้องบูชาพระสังกัจจายน์
- เพื่อโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์แห่งทรัพย์ นอกจากพระสิวลีแล้ว ก็มีพระสังกัจจายน์ที่อุดมไปด้วยลาภสักการะ
- เพื่อสติปัญญา เนื่องจากพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายในด้านการอธิบายความย่อให้พิสดาร มีปฏิภาณไหวพริบดี
- เพื่อความงามและความมีเสน่ห์ของผู้บูชา เนื่องจากว่าก่อนที่พระสังกัจจายน์จะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลงอ้วนท้วนอย่างที่เห็นตามรูปปั้นต่าง ๆ นี้ พระสังกัจจายน์ท่านมีผิวงดงามดั่งทองคำและยังมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งหลายพากันชื่นชม
เคล็ดการบูชาพระสังกัจจายน์
ในการบูชาพระสังกัจจายน์นั้นนิยมบูชาด้วยเครื่องมงคลต่อไปนี้ คือ
– ธูป 3 ดอก
– ดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่าง ๆ หรือจะเป็นดอกบัว 7 ดอก (จะดอกสีขาวอะไรก็ได้ แต่นิยม 7 ดอก)
– น้ำสะอาด 1 แก้ว
– ควรที่จะบูชาสองเวลาคือเช้าก่อนไปทำงานและเย็นก่อนนอน เพื่อขอให้ท่านประสาทพรโชคลาภพูนทวี และเป็นกำลังใจในการทำงานของเราต่อไป
– ถ้ามีรูปหล่อพระสังกัจจายน์บูชาไว้ที่บ้าน มีเคล็ดจากผู้ที่บูชามาก่อนว่า ให้ปิดทองคำเปลวแท้ที่พุงหรือท้องของท่าน
– การบูชาพระด้วยสิ่งต่าง ๆ นั้นเพื่อเป็นเครื่องสักการระใช้เป็นสื่อระลึกถึงท่าน ฉะนั้น ถ้าหาสิ่งที่จะบูชาไม่ได้ ให้บูชาด้วยน้ำสะอาด 1 แก้วก็ได้ หรือโดยที่สุดแค่ยกมือไหว้ ตั้งใจทำดี ก็เป็นการบูชาแล้ว
คาถาบูชาพระสังกัจจายน์
กัจจายนะ จะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญ จะ พุทธะสุภาสิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะ โชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส ชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมามะ.
คาถาบูชาพระสังกัจจายน์ (แบบที่ 2)
ธัมมะจักกัง ปะทังสุตะวา พุชฌิตวา อัตตังปะหัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานังหิตะการะณา ภันเต กัจจายะนะ นามะ ตีสุ โลเกสุ ปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐโกมุนิ นัตถิเถโร สะโมอินทันธัพพา อะสุราเทวะ สักโก พรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะ กัจจายะนะมหาเถรัสสะ นะโมธัมมัสสะ กัจจายะนะ นะมะมะหาเถรัสสะ นะโมสังฆัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ สุขา สุขะวะรังธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง นิฏฐิตัง.
คาถาบูชาขอลาภ (สวดทุกวันเพื่อความเป็นสิริมงคล)
กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตะโมโหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทาโสตถิ ภะวันตุ เม.
คาถาถวายอาหารแด่พระสังกัจจายน์
อิมัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกังวะรัง กัจจายนะ มะหาเถรัสสะ ปูเชมิ.
อย่าพลาดบทความสำคัญ พระสังขจายน์ 5 นิ้ว ถือถุงเงินถุงทอง หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี (สุสานทุ่งมน) จ.สุรินทร์