ทองเหลือง
ทองเหลือง เป็นโลหะที่ผสมกันระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งมีสัดส่วนของทองแดง 75 เปอร์เซ็นต์ และ สังกะสี 25 เปอร์เซ็นต์
ทองฝาบาตร
ทองฝาบาตรก็คือทองเหลืองดี ๆ นี่เอง แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นพระเครื่องหรือวัตถุมงคลที่สร้างคุณค่าทางจิต หรือเพื่อต้องเรียกความเชื่อความศรัทธาให้วัตถุมงคลนั้น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็เรียกใหม่ให้ดูขลังขึ้นว่า “ทองฝาบาตร”
ขันลงหิน
หันลงหินเป็นโลหะที่ผสมกันระหว่างทองแดงกับดีบุก ซึ่งเวลาเคาะเสียงจะดังกังวานไพเราะเสนาะหู โดยมากจึงนิยมนำมาทำระฆัง
เบญจโลหะ
เบญจโลหะ คือเนื้อโลหะที่ได้จากการผสมกันของโลหะ 5 ชนิด ได้แก่ เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ
สัตตโลหะ
สัตตโลหะ คือเนื้อโลหะที่ได้จากการนำโลหะ 7 ชนิด มาผสมกัน ได้แก่ ได้แก่ เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, เจ้าน้ำเงิน, สังกะสี
นวโลหะ
นวโลหะ คือ เนื้อโลหะที่ได้จากการนำโลหะ 9 ชนิด มาผสมกัน ได้แก่ ได้แก่ เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, เจ้าน้ำเงิน, สังกะสี, ชิน และ บริสุทธิ์ (ทองแดงบริสุทธิ์)
นวโลหะ ตามสูตรของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ กทม ที่ใช้ในการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ดังนี้
- ชิน น้ำหนัก ๑ บาท (๑ บาท = ๑๕.๒ กรัม)
- จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก ๒ บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
- เหล็กละลายตัว น้ำหนัก ๓ บาท
- บริสุทธิ์(ทองแดงบริสุทธิ์) น้ำหนัก ๔ บาท
- ปรอท น้ำหนัก ๕ บาท
- สังกะสี น้ำหนัก ๖ บาท
- ทองแดง น้ำหนัก ๗ บาท
- เงิน น้ำหนัก ๘ บาท
- ทองคำ น้ำหนัก ๙ บาท
เนื่องจากทุกวันนี้ทองคำมีราคาแพง และโลหะบางอย่างที่นำใช้ในการนำมาผสมนั้นหายาก พระเครื่องเนื้อนวโลหะจึงเป็นนวโลหะเทียมหรือไม่เต็มสูตรซึ่งมีส่วนผสมของโลหะเพียง 3 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ ทองแดง 85 เปอร์เซ็นต์ เงิน 10 เปอร์เซ็นต์ สังกะสี 5 เปอร์เซ็นต์
อัลปาก้า
อัลปาก้า คือโลหะที่ผสมกันระหว่างทองแดงกับนิกเกิล โดยใช้ทองแดง 75 เปอร์เซ็นต์นิกเกิล 25 เปอร์เซ็นต์ พระที่สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้านั้นหากเรียกตามโรงงานสมัยใหม่ก็จะเรียกว่าเหรียญนิกเกิล