เนื่องจากประชาชนส่วนมากในประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก หากจะมีการค้าขายก็เป็นสินค้าเกี่ยวกับเกษตรเป็นหลักซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ใช้ความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้งจึงจะฝ่าฟันอุปสรรคความยากจนไปได้ ด้วยเหตุกระมังครูอาจารย์แต่เก่าก่อนจึงได้สร้างเครื่องที่สื่อถึงความขยันหมั่นเพียร นั่นก็คือปลาตะเพียร
คาถาเสกปลาตะเพียนทอง
เครื่องรางปลาตะเพียนนั้นโบราณท่านว่าให้บูชาแขวนไว้หน้าร้าน จะทำให้ค้าขายดีมีกำไร เรียกความสนใจจากคนที่ผ่านไปมา ปลาตะเพียนเป็เครื่องรางนของขลังที่คนไทยที่ค้าขายนิยมหามาในร้านค้า การทำเครื่องรางปลาตะเพียนนั้นให้นำแผ่นเงินแผ่นทองมาสานเป็นรูปปลาตะเพียนคู่ ลงอักขระหัวใจพระฉิมพลีในรูปปลาตะเพียนคู่นั้น บริกรรมปลุกเสกด้วยหัวใจพระฉิมพลีคือ นะ ชา ลิ ติ ตามด้วยบทว่า
นะมัตถุ อิเมตตา มะหาชะนา สัพพะลาภา ภะวันตุ เต ลงอิ อุเมตตา มะหาราชา สัพพะสะเนหาจะ ปูชิโต ลงอุนะนามีนา มะหาลาภา ภะวันตุ เต
ให้เสกลง นะ ตัวกลางด้วย แล้วจึงทำการเจาะรูปลาตะเพียนทั้งสองตัวร้อยด้วยเชือกสำหรับแขวน ร้านค้าให้แขวนไว้หน้าร้านบริเวณที่ลมสามารถพัดผ่านได้ ทำให้ปลาตะเพียนเคลื่อนไหวไปมาได้