มารยาทนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องใช้ต้องมีในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพราะยืน เดิน นั่ง นอน ใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ไม่ว่า กิน เดิน นั่ง นอน ดื่ม พูด ทำงาน ถ้าอยู่ร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ก็ย่อมเกี่ยวกับมารยาททั้งนั้น
มารยาทในการพูดที่ดี มีดังนี้
พูดจาไพเราะ
ใช้คำพูดที่ไพเราะ ทำให้คนฟังรู้สึกรื่นหู สบายใจ เมื่อได้ฟัง พูดมีหางเสียง มีค่ะ มีครับ
ไม่แย่งกันพูด
ให้คนอื่นพูดจบก่อน แล้วค่อยพูดทีหลัง ไม่พูดขัดแย้งกัน ไม่แย่งกันพูด
พูดด้วยคำสุภาพไม่หยาบคาย
ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดในคำพูดที่คนอื่นฟังแล้วรู้สึกไม่ดี ไม่พูดในคำพูดที่ตนเองนึกถึงทีหลังแล้วรู้สึกเสียใจ
พูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล
ใช้คำพูดที่นุ่มนวล ชวนฟัง มีหางเสียง พูดจาชัดเจน อ่อนหวาน น่าฟัง ใครได้ฟังแล้วก็อยากจะฟังอีก
ไม่พูดแทรกจังหวะผู้อื่น
เมื่อคนอื่นพูดอยู่ ไม่พูดขึ้นมาแทรก ให้เขาได้พูดจบเสียก่อน แล้วจึงค่อยพูด ฟังเขาพูดให้จบเสียก่อน แล้วค่อยถาม แล้วค่อยพูด
พูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
มีคนบอกว่า ถ้าเรายิ้มในขณะที่เราพูด เสียงของเราก็จะยิ้มตาม ฉะนั้น เมื่อพูด ควรมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เสียงของเราก็จะน่าฟัง เป็นที่ประทับใจของคนฟัง
ใช้ความดังของเสียงให้พอเหมาะ ไม่เสียงเบาหรือดังเกินไป
เปล่งเสียงพูดให้พอเหมาะ กับสถานที่ กับจำนวนคนที่ฟัง ให้พอได้ยินทั่วถึงกัน ไม่ดังมากเกินไป ไม่เบามากเกินไป
ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
ไม่ควรพูดใส่ร้ายคนอื่น ไม่ควรพูดนินทาคนอื่น ไม่ว่าคนนั้นจะทำถูกหรือผิดก็ตาม การนินทาคนอื่น ไม่ได้ทำให้เราดีขึ้น ไม่ได้ทำให้ผู้พูดดีขึ้น ไม่ได้ทำให้บุคคลที่เรานินทาดีขึ้น
เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
เมื่อทำการพูดจบ หรือได้บรรยายจบลงแล้ว ควรปล่อยโอกาสให้คนอื่นได้ซักถาม ซึ่งผู้ฟังบางคน ที่มีความตั้งใจฟังมาโดยตลอด เขาอาจจะสงสัย เพื่อที่จะคลายความสงสัยของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้เขาได้ถามบ้าง