Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระสมเด็จ หลวงปู่หิน อีกตำนานสมเด็จสายวัดระฆัง

พระคุ้มครอง, 15 มกราคม 202416 มกราคม 2024
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

พระสมเด็จ หลวงปู่หิน อีกตำนานสมเด็จสายวัดระฆัง
พระสมเด็จ หลวงปู่หิน อีกตำนานสมเด็จสายวัดระฆัง

หากเอ่ยถึงพระสมเด็จ เรามักนึกถึงพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ก็เพียงได้แต่นึกถึง เพราะว่าจักรพรรดิแห่งพระเครื่องที่จัดสร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จนั้น พบเจอของแท้ได้ยาก แม้พบเจอก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่ถึงกระนั้น ก็มีพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยพระเถระแห่งวัดระฆังโฆสิตารามอีกหลายรูปที่มีความน่าสนใจ ทั้งในด้านศิลปะที่ดำเนินตามรูปแบบพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จโต กรรมวิธีในการจัดสร้าง มวลสาร และการอธิษฐานจิต

พระสมเด็จ หลวงปู่หิน อีกตำนานสมเด็จสายวัดระฆัง

หลวงปู่หิน อินฺทวินโย หรือ เรียกตามตำแหน่งฐานานุกรมในพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค)ว่า พระครูสังฆรักษ์ หิน ท่านเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม

ท่านถือกำเนิดในสกุลสุขเกษม เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลาประมาณ 18.30 น. ที่จังหวัดปริวแวง ประเทศ กัมพูชา

เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ภายหลังได้ลาสิกขาบทเพื่อมาช่วยมารดาบิดาประกอบอาชีพ จากนั้น เมื่อท่านอายุ 21 ปี จึงได้ขออุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวงประเทศกัมพูชา โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แรม เป็นพระกรรมวาจารย์และพระมงคลเถระเป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านมีความสนใจใฝ่รู้ในวิชาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถาอาคม เที่ยวธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งกัมพูชา ไทย พม่า

ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ท่านได้ทราบถึงกิติศัพท์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายังวัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการหลวงปู่ นาค ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามในขณะนั้น

หลวงปู่มีหินท่านมีความเคารพศรัทธาต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นอย่างมาก และมีความสนใจในพระสมเด็จที่ท่านเจ้าประคุณได้สร้างไว้ จึงได้พยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ได้ทั้งที่สมบูรณ์และแตกหักชำรุดเป็นจำนวนมาก ในส่วนที่แตกหักท่านได้นำมาโขลกเป็นผงละเอียด นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังได้นำผงพระปิลันทร์ที่ได้จากกรุมุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตรและผงตรีนิสิงเห เพื่อนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

พระสมเด็จ หลวงปู่หิน
พระสมเด็จ หลวงปู่หิน

พระสมเด็จหลวงปู่หิน รุ่นต่าง ๆ

หลวงปู่หิน ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 – 2521 มีจำนวน 10 รุ่นด้วยกัน โดยมีพระอาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือในการจัดสร้าง โดยแยกตามปีที่สร้างได้ดังนี้

ปี พ.ศ.2482 หลวงปู่หินสร้างพระสมเด็จ รุ่นแรก แจกให้ศิษย์ และทหารตำรวจ ต่างเจอประสบการณ์มากมาย จึงเรียกรุ่นนี้ว่า พระสมเด็จ รุ่นอินโดจีน แยกเป็น 5 พิมพ์ ดังนี้

  1. พิมพ์อกครุฑ
  2. พิมพ์แหวกม่าน
  3. พิมพ์เส้นด้าย
  4. พิมพ์ทรงเจดีย์
  5. พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก

ปี พ.ศ.2484 ถือว่าเป็นพระสมเด็จรุ่นที่ 2 ของหลวงปู่หิน โดยใช้ผงพระสมเด็จผงจากวัดระฆัง ผงจากกรุวัดสามปลื้ม ผงสุริยาตร ผงตรีนิสิงเห และผงมหาราช เป็นหลัก แยกเป็น 5 พิมพ์ ดังนี้

  1. พิมพ์ทรงพระประธาน
  2. พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
  3. พิมพ์ทรงชายจีวร
  4. พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
  5. พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่

ปี พ.ศ.2488 นับว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น 3 ของหลวงปู่หิน ส่วนผสมของผงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ผงพระปิลันทร์ผงกรุวัดสามปลื้ม ผงสุริยาตร ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห มีจำนวน 2พิมพ์ ดังนี้

  1. พิมพ์ทรงนิยม
  2. พิมพ์ทรงเจดีย์

ปี พ.ศ.2494-2495 มีจำนวน 6 พิมพ์ ได้แก่

1 พิมพ์ทรงพระประธานพิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนื้อผงและเนื้อผงใบลาน
2 พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
3 พิมพ์ทรงเจดีย์
4 พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
5 พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
6 พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก

ปี พ.ศ.2497 มี 2 พิมพ์ ได้แก่

1 พิมพ์ทรงเจดีย์
2 พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม

ปี พ.ศ.2500 มี 15 พิมพ์ ได้แก่

1 พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
2 พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
3 พิมพ์ทรงนาคปรก
4 พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
6 พิมพ์ฐานหมอน
7 พิมพ์ทรงนิยม
8 พิมพ์ทรงเจดีย์
9 พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
10 พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
11 พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
12 พิมพ์คะแนนพระประธาน
13 พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
14 พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก
15 พิมพ์ทรงเม็ดแตง

ปี พ.ศ.2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์ 5 มี 6 พิมพ์ ได้แก่

1 พิมพ์นิยมเสาเอกสร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฏิ สมเด็จโต
2 พิมพ์ทรงจุฬามณี
3 พิมพ์สังฆาฏิ
4 พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
5 พิมพ์กลีบบัว
6 พิมพ์ทรงพระประธานหูบายศรี

ปี พ.ศ.2515 ถือว่าเป็นพระสมเด็จรุ่นที่ 8 และเป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่หิน ท่านได้สร้างพระสมเด็จ 2 พิมพ์ และนำเข้าพิธีอนุสรณ์ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺหรฺมรํสี)

1 พิมพ์ทรงนิยม
2 พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร

ที่มา : หลวงปู่หิน วัดระฆังโฆสิตาราม (พระครูสังฆรักษ์หิน อินทวินโย)


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

สมเด็จเสร็จทุกราย แต่หากได้มาฟรีก็เอาไว้ก่อนสมเด็จเสร็จทุกราย แต่หากได้มาฟรีก็เอาไว้ กราบไหว้ได้เหมือนกัน พระสมเด็จบาง นางพญาหนา องค์นี้เข้าตำราที่ว่าไว้พระสมเด็จบาง นางพญาหนา องค์นี้เข้าตำราที่ว่าไว้ พระสมเด็จ เสร็จทุกราย แต่ก็ซื้อง่ายขายคล่อง หากถูกต้องตามตำราพระสมเด็จ เสร็จทุกราย แต่ก็ซื้อง่ายขายคล่อง หากถูกต้องตามตำรา พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก พิมพ์สามเหลี่ยมพระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าหมอน
พระเครื่อง พระสมเด็จพระสมเด็จเก่า

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ