คาถาตับปาฏิโมกข์
คาถาตับปาฏิโมกข์ มีหลายตำรา หรือจะเรียกว่ามีหลายเวอร์ชั่น แต่ที่เหมือนกันคือเลือกเอาตรงที่สวดแล้วออกเสียงว่า ตัน ตัน ย้ำกันหลายครั้ง
คาถาตับปาฏิโมกข์ แบบที่ 1
สุวิตัญจะ สุปะวายิตัญจะ สุวิเลกะขิตัญจะ สุวิตัจฉิตัญจะ
คาถาตับปาฏิโมกข์ แบบที่ 2 โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร
อายะตัญ วิตถะตัญ อัปปิตัญ สุวิตัญ สุวิเลกขิตัญ สุวิตัจฉิตัญ อัปเปวะนา มะมะ
คาถาตับปาฏิโมกข์นี้อยู่ในสิกขาบทที่ 27 แห่งนิสัคคิยปาจิตตีย์ เนื่องจากเวลาสวดจะมีเสียงที่ลงท้ายว่า ตัน ย้ำอยู่หลายคำ จึงมีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ตับปาฏิโมกข์นี้มีความขลังมีความศักดิ์สิทธิ์ ยิงไม่ออก กระสุนด้าน ปืนแตก แต่หากแปลตรงที่สวดนี้ออกมาเป็นภาษาไทยแล้วคนละเรื่องกับที่เชื่อว่ากันปืน ปืนยิงไม่ออก ด้วยเหตุนี้มั้งโบราณจึงบอกว่า คาถาห้ามแปล หากแปลแล้วจะไม่ขลัง คือถ้าแปลแล้วเราก็จะหมดศรัทธาหรือหมดอุปาทานความยึดมั่นว่าขลังนั่นเอง
ที่เรียกว่า “คาถาตับปาฏิโมกข์” นี้น่าจะมาจากคติทางภาคอีสานที่ครูอาจารย์บอกเป็นปริศนาต่อ ๆ กันมา ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นกุศโลบายให้พระภิกษุใหม่มีความเพียรพยามในการท่องจำพระปาฏิโมกข์ แต่อย่างไรก็ตาม หากจิตมีความตั้งมั่น มีศรัทธา มีสมาธิก็ย่อมเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้เช่นกัน