
หากเอ่ยถึงพระสมเด็จ เรามักนึกถึงพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ก็เพียงได้แต่นึกถึง เพราะว่าจักรพรรดิแห่งพระเครื่องที่จัดสร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จนั้น พบเจอของแท้ได้ยาก แม้พบเจอก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่ถึงกระนั้น ก็มีพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยพระเถระแห่งวัดระฆังโฆสิตารามอีกหลายรูปที่มีความน่าสนใจ ทั้งในด้านศิลปะที่ดำเนินตามรูปแบบพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จโต กรรมวิธีในการจัดสร้าง มวลสาร และการอธิษฐานจิต
พระสมเด็จ หลวงปู่หิน อีกตำนานสมเด็จสายวัดระฆัง
หลวงปู่หิน อินฺทวินโย หรือ เรียกตามตำแหน่งฐานานุกรมในพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค)ว่า พระครูสังฆรักษ์ หิน ท่านเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม
ท่านถือกำเนิดในสกุลสุขเกษม เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลาประมาณ 18.30 น. ที่จังหวัดปริวแวง ประเทศ กัมพูชา
เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ภายหลังได้ลาสิกขาบทเพื่อมาช่วยมารดาบิดาประกอบอาชีพ จากนั้น เมื่อท่านอายุ 21 ปี จึงได้ขออุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวงประเทศกัมพูชา โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แรม เป็นพระกรรมวาจารย์และพระมงคลเถระเป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านมีความสนใจใฝ่รู้ในวิชาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถาอาคม เที่ยวธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งกัมพูชา ไทย พม่า
ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ท่านได้ทราบถึงกิติศัพท์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายังวัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการหลวงปู่ นาค ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามในขณะนั้น
หลวงปู่มีหินท่านมีความเคารพศรัทธาต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นอย่างมาก และมีความสนใจในพระสมเด็จที่ท่านเจ้าประคุณได้สร้างไว้ จึงได้พยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ได้ทั้งที่สมบูรณ์และแตกหักชำรุดเป็นจำนวนมาก ในส่วนที่แตกหักท่านได้นำมาโขลกเป็นผงละเอียด นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังได้นำผงพระปิลันทร์ที่ได้จากกรุมุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตรและผงตรีนิสิงเห เพื่อนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

พระสมเด็จหลวงปู่หิน รุ่นต่าง ๆ
หลวงปู่หิน ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 – 2521 มีจำนวน 10 รุ่นด้วยกัน โดยมีพระอาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือในการจัดสร้าง โดยแยกตามปีที่สร้างได้ดังนี้
ปี พ.ศ.2482 หลวงปู่หินสร้างพระสมเด็จ รุ่นแรก แจกให้ศิษย์ และทหารตำรวจ ต่างเจอประสบการณ์มากมาย จึงเรียกรุ่นนี้ว่า พระสมเด็จ รุ่นอินโดจีน แยกเป็น 5 พิมพ์ ดังนี้
- พิมพ์อกครุฑ
- พิมพ์แหวกม่าน
- พิมพ์เส้นด้าย
- พิมพ์ทรงเจดีย์
- พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก
ปี พ.ศ.2484 ถือว่าเป็นพระสมเด็จรุ่นที่ 2 ของหลวงปู่หิน โดยใช้ผงพระสมเด็จผงจากวัดระฆัง ผงจากกรุวัดสามปลื้ม ผงสุริยาตร ผงตรีนิสิงเห และผงมหาราช เป็นหลัก แยกเป็น 5 พิมพ์ ดังนี้
- พิมพ์ทรงพระประธาน
- พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
- พิมพ์ทรงชายจีวร
- พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
- พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่
ปี พ.ศ.2488 นับว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น 3 ของหลวงปู่หิน ส่วนผสมของผงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ผงพระปิลันทร์ผงกรุวัดสามปลื้ม ผงสุริยาตร ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห มีจำนวน 2พิมพ์ ดังนี้
- พิมพ์ทรงนิยม
- พิมพ์ทรงเจดีย์
ปี พ.ศ.2494-2495 มีจำนวน 6 พิมพ์ ได้แก่
1 พิมพ์ทรงพระประธานพิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนื้อผงและเนื้อผงใบลาน
2 พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
3 พิมพ์ทรงเจดีย์
4 พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
5 พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
6 พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก
ปี พ.ศ.2497 มี 2 พิมพ์ ได้แก่
1 พิมพ์ทรงเจดีย์
2 พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม
ปี พ.ศ.2500 มี 15 พิมพ์ ได้แก่
1 พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
2 พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
3 พิมพ์ทรงนาคปรก
4 พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
6 พิมพ์ฐานหมอน
7 พิมพ์ทรงนิยม
8 พิมพ์ทรงเจดีย์
9 พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
10 พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
11 พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
12 พิมพ์คะแนนพระประธาน
13 พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
14 พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก
15 พิมพ์ทรงเม็ดแตง
ปี พ.ศ.2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์ 5 มี 6 พิมพ์ ได้แก่
1 พิมพ์นิยมเสาเอกสร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฏิ สมเด็จโต
2 พิมพ์ทรงจุฬามณี
3 พิมพ์สังฆาฏิ
4 พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
5 พิมพ์กลีบบัว
6 พิมพ์ทรงพระประธานหูบายศรี
ปี พ.ศ.2515 ถือว่าเป็นพระสมเด็จรุ่นที่ 8 และเป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่หิน ท่านได้สร้างพระสมเด็จ 2 พิมพ์ และนำเข้าพิธีอนุสรณ์ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺหรฺมรํสี)
1 พิมพ์ทรงนิยม
2 พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
ที่มา : หลวงปู่หิน วัดระฆังโฆสิตาราม (พระครูสังฆรักษ์หิน อินทวินโย)