เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า พระสีวลี เป็นพระมหาเถระที่ได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นผู้มีลาภสักการะมาก หมายความว่า เมื่อท่านไป ณ ที่ ใดไม่ขาดเคลนด้วยด้วยเครื่องอยู่อาศัยมีปัจจัยสี่เป็นต้น แม้จะไปในที่กันดารเพียงใดก็ตาม หากที่แห่งนั้นไม่มีพระราชาพ่อค้ามหาอำมาตย์ประชาชนถวายการอุปัฏฐากด้วยมีข้าวน้ำเป็นต้น ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของเทวดาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นต้องรับผิดชอบ
พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะคนไทยจึงเชื่อกันว่า หากได้บูชาสักการะพระสีวลีจะไม่มีความขาดแคลนเช่นกัน มีกินมีใช้ไม่อดอยาก ด้วยเหตุนั้นจึงมีคำบูชาหรือคาถาเกี่ยวเนื่องกับพระสีวลีมากมายหลายสำนักหลายเกจิอาจารย์ตามแต่สติปัญญาของเกจิอาจารย์นั้น ๆ
คาถาขอลาภพระสีวลีบทนี้แต่งโดย หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ผมเห็นว่าเป็นคาถาขอลาภพระสีวลีที่มีขนาดสั้น ๆ จำง่าย ความหมายชัดเจน
คาถาขอลาภพระสีวลี
สีวลี มะหาเถรัง วันทามิหังฺ
สีวลี มะหาเถรัง วันทามิหัง
สีวลี มะหาเถรัง วันทามิหัง
มะหาสีวลีเถโร มะหาลาโภ โหติ
มะหาสีวลีเถโร ลาภัง เม เทถะ
คำแปล (จะสวดหรือไม่สวดก็ได้)
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระสีวลีมหาเถระ
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระสีวลีมหาเถระ
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระสีวลีมหาเถระ
พระมหาสีวลีเถระ เป็นผู้มีลาภมาก
ขอพระมหาสีวลีเถระโปรดประทานลาภแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด
หากมีเวลาให้ทำการสวดคาถาบูชาพระสีวลีตามกำลังวัน ดังนี้
วันอาทิตย์ (ให้ภาวนา ๖ จบ)
ฉิมพะลี จะ มหานามัง สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
วันจันทร์ (ให้ภาวนา ๑๕ จบ)
ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา ทูเรหิวา สะมีเปหิวา เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
วันอังคาร (ให้ภาวนา ๘ จบ)
ฉิมพะลี จะมหาเถโร โสะโห ปัจจะยาทิมหิ เชยยะลาโภ มหาลาโภ สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา ฯ
วันพุธ (ให้ภาวนา ๑๗ จบ)
ทิตติตถะภะเวราชา ปิยาจะ คะระตุเม เย สารัตติ นิรันตะรัง สัพพะสุขาวะหา ฯ
วันพฤหัสบดี (ให้ภาวนา ๑๙ จบ)
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ
วันศุกร์ (ให้ภาวนา ๒๑ จบ)
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะรปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทาฯ
วันเสาร์ (ให้ภาวนา ๑๐ จบ)
ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม เถรัสสานุภาเวนะ สะทา สุขี ปิยัง มะมะ ฯ
โปรดอย่าลืม ก่อนที่จะสวดคาถาใด ๆ พึงตั้ง นะโม 3 จบ เพื่อเป็นการนอบน้อมพระพุทธเจ้า จะสวดคาถานี้หลังสวดมนต์บทอื่น ๆ ก็ได้
ควรที่จะทำเหตุอันเป็นที่มาของลาภด้วย คือขยัน หมั่นเพียร อัธยาศัยดี มีการแบ่งปันเพื่อนมนุษย์ รักษาศีล และทำหน้าที่การงานของตนให้ดีที่สุด
ที่มา : https://www.tnews.co.th/variety/487932