หลวงปู่บุญหนา ธมฺทินฺโน
วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ตำบลช้างมิ่ง
อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พระอาจารย์บุญหนา ธมฺมทินฺโน บรรพชาเป็นสามเณร ปฏิบัติอุปัฏฐากครูอาจารย์อยู่ถึง ๑๒ ปี โดยเฉพาะอยู่กับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ในช่วงที่ท่านเป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนนั้น ท่านเคยไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผืออยู่เสมอ ๆ ท่านเล่าว่า สาเหตุที่ได้บวชเป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนนั้น เพราะอาจารย์อ่อนท่านเดินธุดงค์มาพักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผลหรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นท่านบวชเป็นสามเณรแล้ว แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิกกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุตและติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา
ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือครั้งแรกก็ไปกับพระอาจารย์อ่อนผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดผ่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเหสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้นหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อย ๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็ก ๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแ ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้าจึงพูดขึ้ยอย่างเย็น ๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน….” และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณรเอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกาย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป
ท่านเล่าต่อไปอีกว่า ถึงวัดป่าบ้านหนองผือเวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัดของท่าน รู้สึกว่าร่มรื่นสงบเงียบเหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจท่านสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในวัดก็จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้คนตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อนพร้อมคณะก็เข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นที่บนกุฏิท่าน เสร็จแล้วกลับลงมาไปกาที่พักปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อซึ่งมีบ่ออยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนเต็มหมดทุกที่ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อยผสมพอให้อุ่น ๆ เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อมเพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายท่านอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา (พระอาจารย์บุญหนา ธมฺมทินฺโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย
ท่านเล่าว่าตัวท่านเองเป็นสามเณรร่างเล็กพอได้แทรกเข้าไปกับพระซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ พระอาจารย์คำพอง พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์มหาบัว และอีกหลาย ๆ ท่าน เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส..” เสียงท่านน่าฟังมาก แต่เณรไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอลแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้นสำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ท่านได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือครั้งสมัยท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่นั่น ท่านได้สังเกตุเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ปัดห้องน้ำห้อส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่น ๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกัน ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่ก็เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท
ท่านจึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงแยู่อย่างนี้เสมอ แล้วเล่าต่อไปว่า ท่านได้ฟังมาจากพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อาจารย์ของท่านเอง เล่าเรื่องของท่านพะรอาจารย์เสาร์เทศน์สั้น ๆ ว่า กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง… แล้วท่านก็ลงจากธรรมาสน์ไป หลังจากท่านพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้วก็ธุดงค์ออกไปกับพระอาจารย์อ่อน หาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวท่านพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือไปพักวัดป่ากลางโนนภู่ สุดท้ายมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ท่านสามเณรบุญหนากับพระอาจารย์อ่อนก็ได้ติดตามไปด้วยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว ถวายเพลิงศพท่านพะรอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวธุดงค์ต่อไป ปัจจุบันนี้ หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน ท่านพำนักบำเพ็ญสมณธรรม อบรมพุทธบริษัทอยู่ที่ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก บลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
คัดลอกจากหนังสือบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร