
พระตรีกาย (พระวรกายทั้งสาม) หรือเรียกตามภาษาเราตามที่มองเห็นลักษณะขององค์พระว่า พระสามพี่น้อง เป็นพิมพ์พระพุทธที่มีพุทธลักษณะที่สวยงาม พบว่ามีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อดินเผาและเนื้อชิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง เป็นพิมพ์พระที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพื่อความสวยงามและโดดเด่นจึงสร้างองค์กลางประทับอาสนะบัลลังก์ที่สูงกว่าหรือมิเช่นนั้นก็มีองค์พระที่ใหญ่กว่า พระทั้งสามองค์อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นรูปโพธิ์พฤกษ์ เป็นเหตุการณ์หรือปางที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แสดงกิ่งก้านพระศรีมหาโพธิ์ออกมาได้อย่างสวยงามลงตัว ซุ้มด้านหน้ายื่นออกมาเป็นขอบนูน มีรัศมี มีเสาซุ้มเป็นองค์ประกอบอย่างเด่นชัด
พระตรีกาย มีพระพุทธลักษณะแบบสมัยศิลปลพบุรีทั้ง 3 องค์ มีฐานรองรับเป็นชั้น ๆ ภายในฐานมีบัวคว่ำบัวหงายแบบศิลปะสมัยลพบุรี ด้านหน้าข้างล่างมีสถูปหรือพระเจดีย์ 3 องค์เรียงติดชิดกันมีขนาดลดหลั่นกันไป แสดงถึงสังเวชนียสถานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยเจดีย์ต่าง ๆ นั้นมีความละเอียดอ่อนสวยงามสมบูรณ์เป็นอย่างมาก
พระพุทธเจ้าประทับนั่ง 3 พระองค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าหรือประทับสูงกว่าองค์ด้านซ้ายและองค์ด้านขวา เพราะเหตุที่มีพระประทับอยู่ถึง 3 พระองค์ นักนิยมพระเครื่องจึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า “พระตรีกาย” หรือเรียกกันตามภาษาสามัญตามลักษณะที่เห็นว่า “พระสามพี่น้อง”
พระตรีกาย มีทั้งเนื้อดินเผา, เนื้อชินเงิน และเนื้อตะกั่วสนิทแดง พบหลายที่ เป็นต้นว่า ลำพูน, สุโขทัย, ลพบุรี, นครปฐม, เพชรบุรี, ราชบุรี, ชัยนาท, กาญจนบุรี, นครสวรรค์, สุพรรณบุรี, อยุธยา ที่ภาคอีสานก็เคยถูกพบจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ส่วนภาคใต้ก็เคยถูกพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น….
พระตรีกาย หรือ พระสามพี่น้อง เป็นพระพิมพ์ที่สร้างตามแบบพระพุทธศาสนามหายาน ตรีกาย อันหมายถึงพระกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า ในกายตรัยสูตรของมหายาน พระอานนท์ทูลถามถึงเรื่องพระกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตมีกายเป็น 3 สภาวะคือตรีกาย อันได้แก่
พระตรีกาย หรือพระสามองค์ในพิมพ์เดียวกัน เมื่อก่อนผมเข้าใจผิดคิดว่า องค์กลางซึ่งองค์ใหญ่กว่าหรือประทับสูงกว่าเด่นกว่า หมายถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ส่วนพระองค์ด้านขวาและพระองค์ด้านซ้ายหมายถึงพระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ แต่เมื่อผมได้มาศึกษาบทความนี้จึงรู้ว่าไม่ใช่ และหากเป็นพระอัครสาวกคงไม่สร้างยอดพระเกศให้แหลม
ที่มา :
https://www.web-pra.com/shop/jamadevi53/show/1012373
https://th.wikipedia.org/wiki/มหายาน