คำถวายเงินทำบุญ
สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ ฯ
ขอให้ทานของข้าพเจ้าอันให้ดีแล้วหนอ จงนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลส จงเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน ฯ
คำอธิษฐานถวายปัจจัย ตามแบบพลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
อิมินา ปะนะ ทาเนนะ
มา เม ทาลิททิยัง อะหุ
นัตถีติ วะจะนัง นามะ
มา อะโหสิ ภะวาภะเว.
ด้วยอำนาจแห่งทานที่ข้าพเจ้าบริจาคนี้
ขอความยากจนเข็ญใจจงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า
ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้ยินได้ฟังคำว่า “ไม่มี”
ทุกภพทุกชาติเทอญ
ที่มา : วิธีใส่บาตรสตางค์ ฉบับพลเรือตรีทองย้อย โพสต์ที่ facebook ทองย้อย แสงสินชัย เมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗:๑๙
เป็นคำจบเวลาถวายเงิน หรือคำอธิฐานถวายเงิน, คำถวายเงินทำบุญ, คำถวายปัจจัย,คำจบเวลาถวายปัจจัย, คำอธิษฐานถวายปัจจัย
เราควรถวายเงินทำบุญในโอกาสใด
- ถวายเงินเป็นพุทธบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา
- ถวายเงินแก่วัดในวัดสำคัญทางประเพณี เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันลอยกระทง
- ถวายเงินแก่วัดในวันสำคัญของตนเอง เช่น วันเกิด วันครบรอบการแต่งงาน
- ถวายเงินแก่วัดในงานทำบุญเปิดบริษัท ทำบุญให้บริษัทสำนักงาน
- ถวายเงินทำบุญเพื่อบูชาพระธรรมเทศนา
- ถวายเงินแก่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศล
- ถวายเงินแก่วัดเพื่อเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ
- ถวายเงินทำบุญแก่วัดเพื่อชำระหนี้สงฆ์ (เราไม่รู้ว่าเป็นหนี้อะไรหรือไม่ แต่ทำเพื่อสาธรณะประโยชน์ไม่บาปหรอก)
- ถวายเงินทำบุญเพื่อสร้างเสนาสนะ กุฏิวิหาร อุโบสถ พระเจดีย์
- ถวายเงินทำบุญเพื่อพระภิกษุอาพาธ เพื่อพระภิกษุผู้เดินทางไกล
- ถวายเงินทำบุญเพื่อเป็นค่าภัตตาหารแก่พระภิกษุ
- ถวายเงินทำบุญแก่โรงพยาบาลสงฆ์ หรือวัดที่เหลือผู้อื่น เช่น วัดพระพุทธบาทน้ำพุ
- ทำบุญในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าสถานสงเคราะห์ กาชาดไทย ทำบุญช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม ก็สามารถใช้คำนี้อธิษฐานบุญได้เช่นกัน
บางคนอาจจะบอกว่า พระไม่จำเป็นต้องใช้เงิน ผมถามหน่อย เวลาขึ้นรถแท็กซี่เสียเงินไหม เขาให้ขึ้นฟรีไหม ถ้าพระไม่จ่ายค่ารถผิดทั้งกฎหมายและพระวินัย (ยกเว้นแต่เขาไม่เรียกเก็บหรือให้ขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) เวลาไปโรงพยาบาล เชื่อไหมทางโรงพยาบาลต้องถามว่า ท่านใช้สิทธิ์อะไรคะ ? ( เช่น ประกันสังคม บัตรทอง เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลสงฆ์หรือโรงพยาบาลรัฐ แต่บางแห่งก็ถามแบบนี้เช่นกัน แม้ไปโรงพยาบาลสงฆ์ก็ต้องเสียค่าเดินทาง)
ในส่วนของวัด ทางวัดก็ต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ ถูพื้น บูรณะปฏิสังขรณ์อื่น ๆ อีก
ฉะนั้น สิ่งที่เราถวายพระหรือวัดนั้น แม้จะเป็นรูปแบบของธนบัตรหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเงิน แต่เจตนาของเรานั้น คือถวายปัจจัยสี่ เครื่องอวยนวยความสะดวกใช้สอยในชีวิต เพื่อให้ทางวัดนำธนบัตรนี่แหล่ะไปเปลี่ยนเป็นปัจจัยเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป